วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการอ่าน

 การสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการอ่าน
ข้อเสนอแนะต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาใน
การอ่าน โดยเฉพาะผู้เรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นที่สูง แต่พื้นความรู้ภาษาอังกฤษยังไม่มากพอ
และมีปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ (Francis and Mabel, 2006)
1. ในการเรียนภาษาอังกฤษ ผู้เรียนควรได้รับการสอนทักษะที่เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของตัวอักษรและการออกเสียงที่ถูกวิธี (Phonological awareness skills) เพราะถ้าไม่เคยถูกสอนให้เกิดความตระหนักในเรื่องนี้ หรือมีปัญหาไม่เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของสัญลักษณ์
และการออกเสียงแล้ว ผู้เรียนก็จะเริ่มมีปัญหาอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ ในกรณีที่ไม่อยู่ในภาวะที่
จะต้องสอนทักษะดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ก็จำเป็นที่จะต้องสอนแทรกเข้าไปในบทเรียน
2. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้เรื่องศัพท์ การสอนคำศัพท์อย่างมี
ประสิทธิภาพจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับแรกเริ่มเรียนเรื่อยมาและสอนในทุกชั้นปี
อย่างมีระบบ ในการเรียนรู้เรื่องศัพท์ ผู้เรียนควรจะมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
 ความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ที่ใช้ในภาษาพูดและภาษาเขียน
 ความแตกต่างระหว่างคำและความหมาย
 ความสัมพันธ์ของคำกับคำอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มคำเดียวกันและการเปลี่ยน
หน้าที่ของคำเมื่อเติมส่วนที่อยู่ข้างหน้าหรือหลังคำ
 ความเกี่ยวข้องของความรู้ในเนื้อหาของสาระวิชากับภาษาเชิงวิชาการ
 ความรู้เกี่ยวกับคำ ในระดับต่าง ๆ รวมทั้งคำที่มีความหมายหลายอย่าง
 ความจำ เป็นในการสอนคำศัพท์ในระหว่างกิจกรรมการอ่านหรือการเขียน
 ความจำ เป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้คำศัพท์ด้วยตนเอง
3. ในการสอนอ่าน จะต้องสอนกลวิธีการอ่านเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้กลวิธีการ
อ่าน ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เข้าใจเรื่อง รู้จุดมุ่งหมายของการอ่าน หรือรู้จักลักษณะกรอบโครงสร้าง
ของเรื่องที่เป็นเรื่องเล่า (Narrative texts) และความเรียง (Expository texts) ในวิธีสอนแบบเดิมที่ให้
ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่อง เมื่ออ่านจบ ก็ให้ตอบคำถามแบบเลือกตอบ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผู้เรียนที่ไม่มีทักษะจะ
อ่านอย่างเฉื่อยชา ส่วนการตอบคำ ถามแบบเลือกตอบก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจข้อเขียนที่ซับซ้อน
เพราะผู้เรียนเพียงแต่เดา ไม่ได้รู้ความหมายหรือมีการคิดพิจารณาตีความจากเรื่องที่อ่าน
4. สอนให้ผู้เรียนทำนายอย่างมีเหตุผลก่อนอ่านเรื่อง เมื่อให้ผู้เรียนทำนายก่อนอ่าน
ผู้เรียนก็จะต้องราลึกถึงสิ่งที่รู้เกี่ยวกับชนิดของเรื่องและสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับชื่อเรื่อง การทำนายก่อน
อ่าน ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสตรวจสอบการทำนายในขณะอ่านและหลังจากการอ่านจบแล้ว และมี
โอกาสได้สะท้อนความคิดด้วย หากมีการอภิปรายเกี่ยวกับการทำนายโดยที่ครูสนับสนุนและ
ช่วยเหลือยิ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการอ่านเรื่องนั้นมากขึ้น
5. สอนให้ผู้เรียนกำกับความเข้าใจโดยการถามคำถามในขณะอ่าน การทำเช่นนี้
ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ทันทีหากเกิดความไม่เข้าใจและสามารถระบุความรู้ที่ต้องการใช้ในการช่อมเสริม
ความเข้าใจ การขอให้ผู้เรียนอธิบายกระบวนการทำความเข้าใจในขณะที่กา ลังอ่านและกลวิธีที่จะ
แก้ปัญหาเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสในการได้ใช้ภาษาให้ผู้เรียน
6. สอนผู้เรียนให้สรุปสิ่งที่อ่านหลังจากอ่านจบ การที่ให้ผู้อ่านสรุปก็เพื่อให้ผู้อ่าน
สังเคราะห์ข้อมูลและบอกจุดสา คัญ ๆ ของเนื้อเรื่องที่อ่าน วิธีการให้ผู้อ่านสรุปเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาของผู้เรียนและเป็นภาษาเชิงวิชาการด้วย ในการสอน ครูอาจเริ่มโดยการอธิบายจุดมุ่งหมายและ
ลักษณะเฉพาะของกลวิธีที่ต้องการให้ผู้เรียนฝึก ต่อไปก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้นก็เปิ ดโอกาสให้
ผู้เรียนฝึกทำสุดท้าย ก็ให้ผู้เรียนประยุกต์กลวิธีดังกล่าวในสถานการณ์อื่น
7. การสอนเพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วในการอ่านต้องเน้นที่ศัพท์และการให้
ผู้เรียนได้พบเห็นข้อเขียนมาก ๆ การอ่านได้คล่อง ผู้อ่านต้องมีทักษะในเรื่องการห็นคำ แล้วสามารถ
อ่านได้ (Word recognition skills) ก่อน และต้องมีความรู้เรื่องความหมายของคำ รวมทั้งการจดจำ
ข้อมูลเอาไว้ขณะที่พยายามทำความเข้าใจเนื่อเรื่อง หากผู้เรียนอ่านออก ผู้เรียนก็จะลดปัญหาเรื่อง
การสะกดตัวและความพยายามในการอ่านลง เหลือเพียงการเข้าใจความหมายอย่างเดียว นอกจากนั้น
หากผู้เรียนมีปัญหาเรื่องความหมายของศัพท์ก็จะทำให้ความคล่องในการอ่านลดลงอีก
8. การเรียนรู้ภาษาจะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้แสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น นั่นหมายถึงว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากความสามารถในการฝึกและแสดงออกโดยการใช้ภาษา
โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ ปัจจัยสา คัญในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาคือ การให้เวลาทำงานที่ต้อง
ใช้ภาษาโดยการมีปฏิสัมพันธ์เชิงวิชาการ ซึ่งผู้เรียนจะได้มีโอกาสใช้คำ ต่าง ๆ ซ้า ไปซ้า มาบ่อยครั้ง
และในเวลาเดียวกันก็ได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้เรียนด้วย
อันที่จริง ส่วนประกอบและเป้าหมายของการสอนการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนใหญ่แล้ว เหมือนกันในทุกระดับชั้น สิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ มีแต่เรื่องที่ให้อ่านและชนิด
ของเรื่อง การสอนอ่านไม่ว่าจะเป็นระดับต้น ๆ หรือระดับสูงขึ้นมา ครูต้องสอนกลวิธีการอ่าน
เพื่อให้เข้าใจเรื่องทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น