วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการทำโครงงานภาษาอังกฤษ

ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการทำโครงงานภาษาอังกฤษ
ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการทำโครงงาน ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับประมวลได้ ดังนี้

1. เพิ่มแรงจูงใจ เข้าห้องเรียน ร่วมกิจกรรมการเรียนมากขึ้น และมีทัศนคติที่ดีขึ้น
ต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และมักเต็มใจที่จะใช้เวลานอกห้องเรียนทำงานของโครงงานมากขึ้น
(Thomas, 2000)
2. เพิ่มพูนเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องที่ทำโครงงาน เนื่องจากมีความรับผิดชอบ
ในการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น (SRI, 2000)
3. พัฒนาทักษะการคิดในระดับสูง ซึ่งหมายถึงการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ
คิดสร้างสรรค์ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงงาน ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง
อยู่เสมอ เช่น การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ การประยุกต์ความรู้ในสถานการณ์อื่น การคิดตั้งคา ถาม
ในระดับสูงที่ไม่ใช่เพียงแต่ความจา ความเข้าใจ แต่ถามให้วิเคราะห์ สงั เคราะห์และประเมินผล
(SRI,2000; Thomas, 1998)
4. เพิ่มทักษะการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ในการทำโครงงาน มักทำเป็นกลุ่มย่อย ๆ
ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันกัน
5. พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงงาน ผู้เรียนต้อง
จัดระบบการทำงานและจัดตารางเวลา รวมทั้งการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จะช่วยกา กับการทำงานให้
สำเร็จตามเวลาที่กา หนด (Thomas, 2000)
6. เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียน ผู้เรียนบางคนที่เคยไม่เข้าเรียนกลับ
สนใจมาเข้าชั้นเรียน ทั้งนี้เพราะผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย และมีสิ่งต่าง ๆ ที่
ช่วยส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้เรียนที่แตกต่างกัน (Railsback, 2002 cited in intel.com)
7. ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาภาษาอังกฤษ รวมทั้งได้ฝึกทักษะด้านภาษา-ฟังพูด อ่าน
เขียน ตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ของโครงงาน ซึ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเรียนรู้ทั้ง
เนื้อหาภาษาและการฝึกทักษะด้านภาษาต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้เรียนเอง

กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ

                                กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading strategies)
กลวิธีการอ่าน เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนเลือกมาใช้ในการอ่านภาษาอังกฤษ คนที่
อ่านเก่งและคนที่อ่านไม่เก่งจะใช้กลวิธีการอ่านที่ไม่เหมือนกัน (Cohen, 1998) ผู้ที่อ่านเก่งใช้กลวิธี
ต่าง ๆ เช่น คำดคะเนหรือทำนายเนื้อหาของเรื่องก่อนอ่าน เดาความหมายของศัพท์จากพลความ
เดาความหมายของศัพท์ตามหน้าที่โดยพิจารณาจากโครงสร้างไวยากรณ์ เช่น verb หรือ noun
สรุปอ้าง (Inferences) โดยพิจารณาจากชื่อเรื่อง พิจารณาความหมายของศัพท์จากรากศัพท์
(Cognates) ใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมช่วยทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง อ่านเป็นห้วงความคิด
อ่านข้ามคำ ที่ไม่สำคัญ เป็นต้น
ส่วนผู้ที่อ่านไม่เก่งเริ่มจับใจความได้อย่างปะติดปะต่อหลังจากที่ต้องหยุดเพื่อแปล
ความหมายของประโยค ลักษณะการอ่าน คืออ่านเป็นคำ ๆ และเมื่อใดก็ตามที่พบคำ ศัพท์ที่ไม่รู้
ความหมายก็หยุดเพื่อเปิ ดดูความหมายของคำ จากพจนานุกรม (Hosenfeld, 1984) ข้อสรุป ก็คือ
ครูต้องสอนกลวิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสอนให้ผู้เรียนที่เรียน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองฝึกฝนการใช้กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษนับว่าเป็นวิธีการที่สำคัญมากในการเพิ่มความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน (Anderson, 1991; Block, 1986, Brantmeier, 2005; Cohen, 1998)
และในการสอนนั้นจะต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักนา เอากลวิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้นไป
ประยุกต์ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะถ้าเพียงแต่รู้จัก แต่ถ้าประยุกต์ไม่ได้ก็ไม่เกิดประโยชน์
แต่อย่างใด (Anderson, 1991)
กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า
กลวิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพ คือ กลวิธีการอ่านที่ผู้อ่านที่อ่านเก่ง ๆ นา มาใช้ ซึ่งเป็นกลวิธีการอ่าน
ที่หลากหลาย กลวิธีการอ่าน 10 อันดับแรกที่ได้ชื่อว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีดังนี้ (Kump, n.d)
การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างตัวเองกับสิ่งที่อ่าน ในการอ่าน
แต่ละครั้ง หากเรื่องที่อ่านนั้นเป็นเรื่องมีผู้อ่านมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้ว ก็จะทำให้การทำ
ความเข้าใจในสิ่งที่อ่านนั้นได้อย่างแจ่มแจ้งและลึกซึ้งมากขึ้น ดังนั้น ในการสอน ควรหาวิธี
สร้างความเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนให้เข้ากับเรื่องที่อ่าน
การให้ผู้เรียนตั้งคำถาม เป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนลงมืออ่านอย่างจริงจัง
เพราะเมื่อต้องตั้งคำถาม ตัวเองต้องคิดคำ ตอบไว้ล่วงหน้าด้วย การถามคำถามจึงเป็นหัวใจของ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยที่ครูอาจจะสาธิตให้ผู้เรียนดูวิธีการได้ หรีอนา เสนอตัวอย่างคำ ถาม
ในขณะที่อ่าน และพูดให้ฟังว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดคำ ถามอะไรขึ้น
การเพิ่มปริมาณคำศัพท์ หากผู้เรียนรู้ความหมายของศัพท์มาก ผู้เรียน
ก็จะยิ่งสามารถทำความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้นด้วย อันที่จริง คำ ศัพท์มีความสำคัญมากเพราะ
ผู้เรียนจะต้องรู้ความหมายของศัพท์ในเนื้อเรื่องที่อ่านเป็นส่วนใหญ่จึงจะสามารถเข้าใจเรื่องได้
การทำนายและการพิสูจน์สิ่งที่ทำนาย การศึกษาวิจัยเสนอแนะว่า
หากผู้เรียนสามารถทำนายเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ ความเข้าใจเนื้อเรื่องนั้นก็จะเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น
ยังช่วยให้ผู้เรียนสนใจที่จะอ่านมากขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้อ่านที่อ่านเก่ง ๆ มักจะทำนายสิ่งที่อ่านเสมอ
และเมื่อทำนาย ก็หาคำตอเพื่อตรวจสอบคำตอบ แต่เมื่อคำตอบที่ได้ไม่เป็นไปตามที่ทำนายไว้
ผู้อ่านก็จะเริ่มคิดหาเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงทำนายไม่ถูก แล้วก็จะหาวิธีการคิดใหม่ด้วย (Fielding,
Anderson, Pearson, Hanson, n.d.)
การสร้างภาพมโนมิติ (Visualizing) เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้อ่านเปลี่ยน
ข้อความให้มีลักษณะเป็นภาพที่เป็นรูปธรรมซึ่งช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น หากผู้เรียนสามารถ
สร้างมโนมิติได้ก็ทำให้ผู้เรียนมุ่งมั่นตั้งใจในการอ่านมากขึ้น (Keene and Zimmerman, 1997)
การพิจารณาหาใจความสำคัญและข้อมูลที่สำคัญ ๆ ของเรื่อง ในการ
อ่าน ผู้อ่านควรสามารถแยกจุดใหญ่ใจความของเรื่องกับส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยออกจากกัน
เพราะผู้เรียนจะได้จับใจความสำคัญของเรื่องได้และรู้ว่าสิ่งใดเป็นเพียงรายละเอียดที่ใช้สนับสนุน
ใจความสำคัญอีกทีหนึ่ง
การทำความเข้าใจความหมายแฝง ความหมายแฝง คือ ความหมายที่
ผู้เขียนไม่ได้ระบุบอกไว้อย่างโจ่งแจ้งในเนื้อเรื่อง แต่มีข้อมูลสำคัญหรือข้อเท็จจริงบางประการที่ทำ
ให้ผู้อ่านต้องคิดเองและสรุปความเอาเอง ถ้าผู้อ่านไม่คิดก็จะเข้าใจเรื่องที่อ่านแต่เพียงผิวเผิน ไม่ลึกซึ้ง
ประมวลหรือสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปความ การอ่านในลักษณะนี้
เปรียบเสมือนการนาเอาแผ่นภาพต่อปริศนา ( Jigsaw) มาวางต่อ ๆ กันให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ เป็นการ
ประมวลเอาเนื้อหาความรู้เดิมมาหลอมรวมเข้ากับเนื้อหาความรู้ใหม่ ๆ และนา มาเรียบเรียงออกมา
เป็นความรู้ใหม่
ตรวจสอบความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน การอ่าน คือการทำความเข้าใจใน
สิ่งที่อ่าน หากอ่านไปถึงจุดที่ไม่เข้าใจ ผู้อ่านต้องหยุดเพื่อตรวจสอบโดยอาจใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อช่วย
ให้เข้าใจ ปัญหา คือว่า ผู้เรียนบางคนไม่รู้ว่าตนเองไม่เข้าใจ เพราะไม่ขาดความตระหนักว่าเมื่ออ่าน
ไปก็ต้องคิดตามไปด้วย และก็มีบางคนที่รู้ว่าตนเองไม่เข้าใจ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ครูจำเป็นต้อง
เข้าไปช่วยเหลือเพื่อกา กับการอ่าน และสอนวิธีการตรวจสอบความเข้าใจและวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อ
อ่านไม่เข้าใจ
การอ่านคล่อง คือ การที่ผู้อ่านมองเห็นคำวลีและประโยค แล้วสามารถ
อ่านคำได้ถูกต้อง เว้นวรรคได้ถูกต้องเพราะรู้หลักในการอ่าน การรู้จักอ่านให้คล่องมีความสำคัญใน
แง่ที่ว่าเป็นการลดอุปสรรคสา คัญในการอ่านลงไปอย่างหนึ่ง คือ การอ่านตะกุกตะกัก เพื่อให้ผู้อ่าน
พุ่งความสนใจไปที่การอ่านเพื่อให้เข้าใจความหมายเพียงอย่างเดียว หาไม่แล้ว ผู้อ่านจะเกิดปัญหา
หลายด้านที่ทำให้เกิดความท้อแท้และหมดกา ลังใจในการอ่าน การอ่านคล่องของนักเรียนต่างชาติก็
เป็นเรื่องที่ครูต้องให้ความเอาใจใส่และสอนให้รู้จักวิธีอ่าน
ในหน่วยการเรียนเรื่องกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษนี้ บทเรียนทั้งหมดเน้นกลวิธีการอ่านที่
พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้ผู้อ่านอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีการอ่านที่
ครอบคลุมในระดับกว้าง (Top-down or Global reading strategies) (เช่น การสำรวจเนื้อหาก่อนอ่าน
การสังเกตลักษณะเฉพาะของข้อเขียน เช่น ความยาวและการเรียงลา ดับข้อความ การทำนาย
ความหมายของเรื่อง เป็นต้น) และกลวิธีการอ่านในกลุ่มของการอ่านเฉพาะหน่วย (Bottom-up or
local reading strategies) กลวิธีการอ่านในกลุ่มการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interactive reading strategies)
รวมทั้งกลวิธีการอ่านที่ช่วยแก้ปัญหาในขณะอ่าน (เช่น การเดาความหมายของศัพท์จากพลความ
การสร้างภาพมโนมิติ (Visualize) ของข้อมูลที่อ่าน) (Huang, 1999) และในการสอนกลวิธีการอ่าน
เหล่านี้ ให้ผู้เรียนนา เอากลวิธีที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้นไปประยุกต์ด้วย

การสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการอ่าน

 การสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาในการอ่าน
ข้อเสนอแนะต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะสำหรับการสอนผู้เรียนที่ประสบปัญหาใน
การอ่าน โดยเฉพาะผู้เรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นที่สูง แต่พื้นความรู้ภาษาอังกฤษยังไม่มากพอ
และมีปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ (Francis and Mabel, 2006)
1. ในการเรียนภาษาอังกฤษ ผู้เรียนควรได้รับการสอนทักษะที่เกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของตัวอักษรและการออกเสียงที่ถูกวิธี (Phonological awareness skills) เพราะถ้าไม่เคยถูกสอนให้เกิดความตระหนักในเรื่องนี้ หรือมีปัญหาไม่เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของสัญลักษณ์
และการออกเสียงแล้ว ผู้เรียนก็จะเริ่มมีปัญหาอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้ ในกรณีที่ไม่อยู่ในภาวะที่
จะต้องสอนทักษะดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ก็จำเป็นที่จะต้องสอนแทรกเข้าไปในบทเรียน
2. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้เรื่องศัพท์ การสอนคำศัพท์อย่างมี
ประสิทธิภาพจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับแรกเริ่มเรียนเรื่อยมาและสอนในทุกชั้นปี
อย่างมีระบบ ในการเรียนรู้เรื่องศัพท์ ผู้เรียนควรจะมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
 ความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ที่ใช้ในภาษาพูดและภาษาเขียน
 ความแตกต่างระหว่างคำและความหมาย
 ความสัมพันธ์ของคำกับคำอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มคำเดียวกันและการเปลี่ยน
หน้าที่ของคำเมื่อเติมส่วนที่อยู่ข้างหน้าหรือหลังคำ
 ความเกี่ยวข้องของความรู้ในเนื้อหาของสาระวิชากับภาษาเชิงวิชาการ
 ความรู้เกี่ยวกับคำ ในระดับต่าง ๆ รวมทั้งคำที่มีความหมายหลายอย่าง
 ความจำ เป็นในการสอนคำศัพท์ในระหว่างกิจกรรมการอ่านหรือการเขียน
 ความจำ เป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้คำศัพท์ด้วยตนเอง
3. ในการสอนอ่าน จะต้องสอนกลวิธีการอ่านเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้กลวิธีการ
อ่าน ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เข้าใจเรื่อง รู้จุดมุ่งหมายของการอ่าน หรือรู้จักลักษณะกรอบโครงสร้าง
ของเรื่องที่เป็นเรื่องเล่า (Narrative texts) และความเรียง (Expository texts) ในวิธีสอนแบบเดิมที่ให้
ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่อง เมื่ออ่านจบ ก็ให้ตอบคำถามแบบเลือกตอบ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผู้เรียนที่ไม่มีทักษะจะ
อ่านอย่างเฉื่อยชา ส่วนการตอบคำ ถามแบบเลือกตอบก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจข้อเขียนที่ซับซ้อน
เพราะผู้เรียนเพียงแต่เดา ไม่ได้รู้ความหมายหรือมีการคิดพิจารณาตีความจากเรื่องที่อ่าน
4. สอนให้ผู้เรียนทำนายอย่างมีเหตุผลก่อนอ่านเรื่อง เมื่อให้ผู้เรียนทำนายก่อนอ่าน
ผู้เรียนก็จะต้องราลึกถึงสิ่งที่รู้เกี่ยวกับชนิดของเรื่องและสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับชื่อเรื่อง การทำนายก่อน
อ่าน ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสตรวจสอบการทำนายในขณะอ่านและหลังจากการอ่านจบแล้ว และมี
โอกาสได้สะท้อนความคิดด้วย หากมีการอภิปรายเกี่ยวกับการทำนายโดยที่ครูสนับสนุนและ
ช่วยเหลือยิ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการอ่านเรื่องนั้นมากขึ้น
5. สอนให้ผู้เรียนกำกับความเข้าใจโดยการถามคำถามในขณะอ่าน การทำเช่นนี้
ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ทันทีหากเกิดความไม่เข้าใจและสามารถระบุความรู้ที่ต้องการใช้ในการช่อมเสริม
ความเข้าใจ การขอให้ผู้เรียนอธิบายกระบวนการทำความเข้าใจในขณะที่กา ลังอ่านและกลวิธีที่จะ
แก้ปัญหาเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสในการได้ใช้ภาษาให้ผู้เรียน
6. สอนผู้เรียนให้สรุปสิ่งที่อ่านหลังจากอ่านจบ การที่ให้ผู้อ่านสรุปก็เพื่อให้ผู้อ่าน
สังเคราะห์ข้อมูลและบอกจุดสา คัญ ๆ ของเนื้อเรื่องที่อ่าน วิธีการให้ผู้อ่านสรุปเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาของผู้เรียนและเป็นภาษาเชิงวิชาการด้วย ในการสอน ครูอาจเริ่มโดยการอธิบายจุดมุ่งหมายและ
ลักษณะเฉพาะของกลวิธีที่ต้องการให้ผู้เรียนฝึก ต่อไปก็ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้นก็เปิ ดโอกาสให้
ผู้เรียนฝึกทำสุดท้าย ก็ให้ผู้เรียนประยุกต์กลวิธีดังกล่าวในสถานการณ์อื่น
7. การสอนเพื่อส่งเสริมความคล่องแคล่วในการอ่านต้องเน้นที่ศัพท์และการให้
ผู้เรียนได้พบเห็นข้อเขียนมาก ๆ การอ่านได้คล่อง ผู้อ่านต้องมีทักษะในเรื่องการห็นคำ แล้วสามารถ
อ่านได้ (Word recognition skills) ก่อน และต้องมีความรู้เรื่องความหมายของคำ รวมทั้งการจดจำ
ข้อมูลเอาไว้ขณะที่พยายามทำความเข้าใจเนื่อเรื่อง หากผู้เรียนอ่านออก ผู้เรียนก็จะลดปัญหาเรื่อง
การสะกดตัวและความพยายามในการอ่านลง เหลือเพียงการเข้าใจความหมายอย่างเดียว นอกจากนั้น
หากผู้เรียนมีปัญหาเรื่องความหมายของศัพท์ก็จะทำให้ความคล่องในการอ่านลดลงอีก
8. การเรียนรู้ภาษาจะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้แสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น นั่นหมายถึงว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากความสามารถในการฝึกและแสดงออกโดยการใช้ภาษา
โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ ปัจจัยสา คัญในการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาคือ การให้เวลาทำงานที่ต้อง
ใช้ภาษาโดยการมีปฏิสัมพันธ์เชิงวิชาการ ซึ่งผู้เรียนจะได้มีโอกาสใช้คำ ต่าง ๆ ซ้า ไปซ้า มาบ่อยครั้ง
และในเวลาเดียวกันก็ได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้เรียนด้วย
อันที่จริง ส่วนประกอบและเป้าหมายของการสอนการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนใหญ่แล้ว เหมือนกันในทุกระดับชั้น สิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ มีแต่เรื่องที่ให้อ่านและชนิด
ของเรื่อง การสอนอ่านไม่ว่าจะเป็นระดับต้น ๆ หรือระดับสูงขึ้นมา ครูต้องสอนกลวิธีการอ่าน
เพื่อให้เข้าใจเรื่องทั้งสิ้น

ความหมายของโครงงานภาษาอังกฤษ

                   3.1 การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการทำโครงงานภาษาอังกฤษ                                                                          คือ แนวทางการสอนภาษาที่เน้นการเรียนรู้เนื้อหาภาษาอังกฤษและการใช้ภาษาอังกฤษจากประสบการณ์จากการทำงานลักษณะต่าง ๆ
โดยทำร่วมกันกลุ่มเพื่อนเพื่อสร้างผลผลิตของโครงงานออกมา และมีครูคอยให้คำแนะนำในการ
ทำงานดังกล่าว ผู้เรียนต้องใช้กลวิธีการคิดในลักษณะต่าง ๆ เช่น การคิดวางแผนการดา เนินงาน
การวิจัยค้นคว้าหาข้อมูล การจัดการกับข้อมูล การสร้างผลผลิต การประเมินผล และการนา เสนอ
ผลงาน นอกจากนั้น ผู้เรียนต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาบุคคลิกภาพของตนเอง เช่น ความมุ่งมั่นตั้งใจในการ
ทำงาน การให้ความร่วมมือ การประนีประนอม การหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน การตรงต่อเวลา
การมีความรับผิดชอบ เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้การทำ งานดังกล่าวให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจกล่าว
ได้ว่า การเรียนรู้(ภาษาอังกฤษ) โดยการทำ โครงงานเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่มี
คุณภาพยิ่งของสังคม และเป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนในแง่ของความรู้
ความสามารถ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก (Student-centered)
จุดเริ่มต้นของการทำ โครงงาน คือ หัวเรื่องหรือประเด็นปัญหาจากเนื้อหาสาระ
ของรายวิชาภาษาอังกฤษที่เรียน แต่ก็มักจะสนับสนุนให้บูรณาการสาระวิชาอื่น ๆ เช่น ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์ ชีววิทยา เป็นต้น เข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ที่แตกฉานและลึกซึ้งมากขึ้น
แต่ทว่า โครงงานนั้น มักประกอบขึ้นด้วยงานย่อย ๆ ที่กำหนดให้ทำหรือกิจกรรม
การเรียนต่าง ๆ หลายอย่างและบางอย่างก็ค่อนข้างซับซ้อน สมควรที่ให้ผู้เรียนช่วยกันทา ดงั นั้นการ
ทำโครงงานจึงมักให้เป็นกลุ่มย่อย ๆ กลุ่มละ 3-4 คน โดยที่สมาชิกในกลุ่มจะต้องทำงานร่วมกันตั้งแต่
ต้นจบจบอย่างมีระบบ กล่าวคือ เริ่มต้นจากการเลือกหัวเรื่อง ตามมาด้วยการพิจารณาตัดสินใจ
เกี่ยวกับผลผลิตของโครงงานที่จะทำแล้ววางแผนการดา เนินการ ต่อจากนั้นก็ลงมือทำกิจกรรม
ต่าง ๆ หรืองานย่อย ๆ ของโครงงาน ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น การตั้งคำถามวิจัยเพื่อใช้เป็นแนวทำงใน
การศึกษาค้นคว้า การค้นหาแหล่งข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อ
ทำผลผลิตของโครงงาน และสุดท้ายจบลงด้วยการนา เสนอผลผลิตซึ่งสะท้อนสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้
กระบวนการทำโครงงานดังกล่าวนี้เป็นกระบวนการที่นอกจากจะเอื้อต่อการฝึก
ทักษะต่าง ๆ ด้านภาษาทั้ง ฟัง พูด อ่านและเขียนแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การดา รงชีวิต เช่น ทักษะเชิงสังคม (เช่น การทำงานร่วมกัน การปรึกษาหารือกัน การให้กา ลังใจซึ่งกัน
และกัน การเป็นผู้นา เป็นต้น) การทำ ความเข้าใจตนเอง (เช่น ตระหนักถึงความถนัดของตน
ความชอบ ความสนใจ เป็นต้น การเรียนรู้วิธีเรียน การกา กับการทำงานและความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การฝึกฝนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง
การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน หากดา เนินการอย่างรอบคอบจะช่วยเตรียมตัวผู้เรียนให้พร้อมที่จะ
เผชิญกับโลกภายนอกทั้งในด้านส่วนตัวและการงานอาชีพด้วย

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

2.1 ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เป้าหมายของการสอนทักษะการอ่าน ไม่ว่าสอนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาต่างประเทศ ก็คือ การอ่านให้เข้าใจเนื้อเรื่อง หากเป้าหมายนี้สัมฤทธิผลก็ส่งผลต่อเนื่องไปยัง
ความสัมฤทธิผลในการศึกษาในระดับสูงกว่าขึ้นไปด้วย ทักษะการอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
และมีหลายด้านซึ่งต่างก็มีความจำ เป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกให้ได้และต้องทำ ตามลำดับขั้นตอน
เช่น ความสามารถในการจำแนกส่วนประกอบของคำ การรู้จักความสัมพันธ์ของตัวอักษรและการ
ออกเสียง ความสามารถในอ่านคำ รวมถึงการแบ่งพยางค์ ความคล่องแคล่วในการอ่าน การเรียนรู้
คำศัพท์ และการทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน ความสามารถในการใช้ภาษาในการแสดงออกทั้งการพูด
และเขียน ความสามารถ ในการพิจารณาตีความหมายจากเรื่องที่อ่าน เป็นต้น เพราะผู้เรียนจะต้อง
บูรณาการทักษะการอ่านต่าง ๆ เหล่านี้ทุกครั้งที่อ่าน (Francis and Mabel, 2006)
สาเหตุของปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยอาจจะเกี่ยวข้องกับ
กระบวนการการอ่านทั้งระดับเฉพาะหน่วย เช่น อ่านไม่ออก แบ่งพยางค์ไม่เป็น ออกเสียงไม่ถูก
ไม่รู้จักวรรคตอน เป็นต้น รวมตลอดไปจนถึงปัญหาของกระบวนการอ่านในระดับกว้าง เช่น
รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษในปริมาณน้อย ไม่เข้าใจโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน ไม่รู้จักวิเคราะห์
ส่วนประกอบของย่อหน้า หรือวิเคราะห์กรอบโครงสร้างของเนื้อหาในเรื่อง เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ
ดังกล่าวนี้ หากไม่แก้ไขให้ตรงจุด และถูกวิธี จะส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่จะ
เป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือไม่สามารถเรียนรู้ได้
ในการวางแผนการสอน ครูจะต้องตระหนักถึงจุดมุ่งหมายในการสอน ถ้าเป็นผู้เรียน
ในระดับแรกเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จุดมุ่งหมายก็ควรเน้นไปที่การป้องกันปัญหาของการอ่านไม่ให้
เกิดขึ้นกับผู้เรียน (Preventive instruction) แต่ถ้าเป็นผู้เรียนในระดับสูงขึ้นไป แต่ยังมีปัญหาใน
การอ่าน ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากการเรียนรู้ภาษาที่ไม่ถูกวิธี จุดมุ่งหมายของการสอนก็อาจเน้นไปที่
การสอนแบบซ่อมเสริม (Remedial instruction) (Francis and Mabel, 2006)

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมาชิกในกลุ่ม

                                                                 รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1.ด.ช.ดิฐชัย       ทับทิมทอง ม.3/9 เลขที่ 5
2.ด.ช.ทำเล        ช่วยปลอด ม.3/9 เลขที่ 6
3.ด.ช.พันธวัตร   หวังมุทิตากุล ม.3/9 เลขที่ 10
4.ด.ช.วงศธร      พงศ์วิวรรณ ม.3/9 เลขที่ 11
5.ด.ญ.อาทิตยา  บุญศรีสวัสดิ์ ม.3/9 เลขที่ 30